ขอบคุณภาพจาก travet.trueid.net และ tnews.co.th

ตลาดวิเศษศาลเจ้าโรงทอง

ข้อมูล ตลาดวิเศษชัยชาญ หรือ ตลาดศาลเจ้าโรงทอง นี้ เป็นตลาดโบราณของจังหวัดอ่างทองมายาวนานเป็นร้อยปีตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาทีเดียวค่ะ เป็นตลาดหัวเมืองที่สำคัญในยุคที่บ้านเราค้าขายขนส่งสินค้าต่างๆ ด้วยเรือ และเมื่อถนนมาทุกอย่างก็แปรเปลี่ยน และปัจจุบัน คนในพื้นที่ยังคงให้ความสำคัญ และอนุรักษ์ตลาดเก่าโบราณนี้ไว้   ทำให้กลับมาคึกคักเหมือนเดิม และมีนักท่องเที่ยวมามากมายค่ะ  ร้านค้าต่างๆ ในตลาดนี้ส่วนใหญ่จะเป็นร้านของคนไทยเชื้อสายจีนค่ะ มีร้านอาหารอร่อยๆ มากมาย รวมไป ถึงขนมไทยโบราณ มีพิพิธภัณฑ์บ้านเก่าโบราณให้เราได้เข้าชม และข้าวของเครื่องใช้ ของที่ระลึกต่างๆ ให้ซื้อกลับบ้านกันได้อีกด้วย

เปิดบริการ : 08.00 – 16.00 น.

โทร : 0-3552-5867, 0-3552-5880

การเดินทาง  : เข้าสู่ถนนหลวงหมายเลข 309 เข้าสู่ อ.ป่าโมก จากนั้นพอเจอสี่แยกให้เลี้ยวซ้ายเข้าถนน 329 วิ่งผ่าน อ.ป่าโมก จนวิ่งขึ้นสะพานข้ามแม่น้ำน้อย ลงสะพานแล้วเลี้ยวขวาเข้าถนน 3454 ไป อ.วิเศษชัยชาญ พอถึงโรงพยาบาลวิเศษชัยชาญก็ให้เลี้ยวขวาเข้าสู่ตลาดวิเศษชัยชาญ

ขอบคุณภาพจาก paiduaykan.com

ศูนย์ตุ๊กตาชาววังบางเสด็จ

ข้อมูล : ศูนย์ตุ๊กตาชาววังบ้านบางเสด็จ ตั้งอยู่ภายในบริเวณวัดท่าสุทธาวาส ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งมีทัศนียภาพโดยรอบร่มรื่นและสวยงามเป็นอาคารทรงไทย 2 ชั้น  ชื่อว่า คุ้มสุวรรณภูมิชั้นบนแสดงนิทรรศการพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์

 

การเดินทาง : ใช้ทางหลวงหมายเลข 309 จากจังหวัดอยุธยามุ่งหน้าสู่จังหวัดอ่างทองประมาณ 16 กิโลเมตร จะมีทางแยกซ้ายมือเข้าสู่บ้านบางเสด็จ ศูนย์ตุ๊กตาชาววังบ้านบางเสด็จ อยู่ติดกับวัดท่าสุทธาวาส

ขอบคุณภาพจาก thailovetrip.com

พระตำหนักคำหยาด

ข้อมูล : พระตำหนักนี้คงจะสร้างขึ้นตั้งแต่ รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าบรมโกศเพื่อเป็นที่ประทับแรม เช่นเดียวกับที่พระเจ้าปราสาททองทรงสร้างที่ประทับไว้ที่บางปะอิน เนื่องจากมีพระราชนิยมเสด็จประพาสเมืองแถบนี้ ทั้งพระองค์ได้เสด็จพระนอนขุนอินทประมูลถึง ๒ ครั้ง และขณะเดียวกันที่กรมขุนพรพินิต(ขุนหลวงหาวัด หรือ เจ้าฟ้าอุทุมพร) ผนวชอยู่ที่วัดราชประดิษฐ์ก็ได้ทรงนำข้าราชบริพารกับพระภิกษุที่จงรักภักดีต่อพระองค์เสด็จลงเรือพระที่นั่งจาก ออกจากพระนครศรีอยุธยามาจำพรรษาที่วัดโพธิ์ทองคำหยาด และประทับอยู่ที่พระตำหนักคำหยาดนี้เพื่อไปสมทบกับชาวบ้านบางระจัน ปัจจุบันนี้กรมศิลปากรได้บูรณะ และขึ้นทะเบียนพระตำหนักคำหยาดเป็นโบราณสถานไว้แล้ว

ที่ตั้ง : ตำบลคำหยาด อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง

เวลาเปิด-ปิด :  เปิดให้เข้าชมทุกวัน

การเดินทาง : ใช้เส้นทางสายอ่างทอง-โพธิ์ทอง อยู่ถัดจากวัดโพธิ์ทองไปทางทิศตะวันตกประมาณ 2 กิโลเมตรบนถนนสายเดียวกัน

ขอบคุณภาพจาก m-culture.go.th

วัดไชโยวรวิหาร หรือ วัดเกษไชโย อ.ไชโย

ประวัติและข้อมูลของสถานที่ท่องเที่ยว

  เป็นวัดพระอารามหลวงชั้นโท เดิมเป็นวัดราษฎร์เก่าแก่ มีนามว่าวัดไชโย ครั้นเมื่อสมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) เจ้าอาวาสวัดระฆังโฆษิตารามได้เลือกวัดนี้เป็นที่สร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่ ตั้งอยู่กลางแจ้งกล่าวว่า การก่อสร้างพระพุทธรูปนี้ใช้เวลานานเกือบ 3 ปี ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 จึงเสร็จ แล้วสมเด็จพุฒาจารย์ได้ถวายวัดไชโยเป็นวัดหลวง ได้รับพระราชทานนามว่า “วัดเกษไชโย”
        ใน พ.ศ.2430 มีการปฏิสังขรณ์วัดเกษไชโยทั้งพระอาราม ทำให้พระพุทธรูปได้รับแรงกระเทือนจากการก่อสร้างพระวิหารก็พังทลายลง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระพุทธรูปขึ้นใหม่ทดแทนโดยโปรดเกล้าฯ ให้   พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าประดิษฐ์วรการเป็นแม่กองช่าง โดยรื้อองค์ พระเดิมออกหมด วางรากฐานก่อสร้างใหม่ใช้โครงเหล็กรัดอิฐปูนไว้ภายในลดขนาดจากองค์เดิมลงพระพุทธรูปองค์นี้ได้รับพระราชทานนาม “พระมหาพุทธพิมพ์” ขนาดหน้าตักกว้าง 8 วา 6 นิ้ว สูง 11 วา ศอก 7 นิ้ว และโปรดเกล้าฯ ให้ยกฐานะวัดไชโยให้เป็นพระอารามหลวง นอกจากนี้ยังมีการก่อ พระวิหาร สร้างพระอุโบสถเป็นมุขลดยื่นออกมาทางด้านหน้า มีศาลาราย กำแพงแก้ว ศาลาการเปรียญ กุฏิสงฆ์ หอสวดมนต์ หอระฆัง ศาลารายกลางวัด ศาลาท่าน้ำ รวมเวลาการปฏิสังขรณ์นานถึง 8 ปี
        พระวิหาร มีความสูงใหญ่มากแห่งหนึ่ง รูปทรงแปลกตา ด้านนอกมีรูปทวารบาลลายรดน้ำ เป็นรูปเสี้ยวกวาง เสาหารด้านหน้า-หลังพระวิหารมีขนาดใหญ่โตมาก
        ภายในพระอุโบสถ พระประธานเป็นพระพุทธรูปปั้นปางสมาธิ ผนังทุกด้านมีภาพจิตรกรรมฝีมือช่างสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นเรื่องพุทธประวัติภาพเหล่าทวยเทพที่วิจิตรงดงาม ยังอยู่ในสภาพที่ดี บานประตูแกะสลักอย่างประณีต
        สิ่งที่น่าสนใจในวัดนี้ ได้แก่ พระมหาพุทธพิมพ์ หรือที่เรียกว่าหลวงพ่อโต เป็นฝีพระหัตถ์ของพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประดิษฐ์วรการ เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ มีพุทธลักษณะที่โดดเด่นกว่ายุคสมัยที่ไม่ยึดแนวอุดมคติตายตัว พระพักตร์และพระกรรณจึงเหมือนคนธรรมดามากกว่า มีริ้วรอยย่นของ สบง จีวร ชัดเจน
        นอกจากจะเป็นวัดสำคัญของอำเภอไชโยแล้ว ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่ทำให้ประชาชนรู้จักวัดนี้เป็นอย่างดี ได้แก่ “พระสมเด็จเกษไชโย” พระเครื่องที่สร้างโดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ซึ่งเปี่ยมไปด้วยพุทธคุณนานัปการ
        วัดไชโยวรวิหาร ตั้งอยู่ที่ตำบลไชโย อำเภอไชโย จากอ่างทองใช้ทางหลวงหมายเลข 309 (อ่างทอง-สิงห์บุรี) ประมาณ 17 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวขวาบริเวณสถานีตำรวจภูธรตำบลไชโยอีกประมาณ 300 เมตร จะถึงจุดหมาย

ขอบคุณภาพจาก paiduaykan.com และ welovetogo.com

วัดขุนอินทประมูล อ.โพธิ์ทอง

ข้อมูล : วัดขุนอินทประมูล พระพุทธไสยาสน์วัดขุนอินทประมูล เป็นพระพุทธรูปปางไสยาสน์ มีความยาว 50 เมตร ประดิษฐานอยู่ที่วัดขุนอินทประมูล ตำบลอินทประมูล อำเภอโพธิ์ทอง วัดนี้อยู่ที่กลางนา พระวิหารหักพังหมด ไม่มีหลังคา ที่หน้าพระนอนองค์นี้มีรูปปั้นของชายคนหนึ่ง เล่ากันว่า ขุนอินทประมูล ซึ่งเป็นนายอากรได้ยักยอกเอาเงินหลวงมาสร้างต่อเติมองค์พระ ซึ่งเดิมมีความยาว 40 เมตร ครั้นพระมหากษัตริย์ทรงทราบเรื่องก็ตรัสถามว่าเอาเงินมาจากไหนมาสร้าง ขุนอินทประมูลก็ไม่ตอบ    ถึงได้ถูกเฆี่ยนจนตาย วัดนี้จึงได้ชื่อว่า วัดขุนอินทประมูล 

ที่ตั้ง : ตำบลอินทประมูล อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง

เวลาเปิด-ปิด :  เปิดให้เข้าชมทุกวัน
การเดินทาง : 
1. สายอ่างทอง-อำเภอโพธิ์ทอง (เส้นทาง 3064) แยกขวาที่กม. 9 เข้าไปอีกประมาณ 2 กม.
2. จากจังหวัดสิงห์บุรีไปทางอำเภอไชโยประมาณกม.ที่ 8 จะมีทางแยกซ้ายมือเข้าถึงวัดเป็นระยะทาง 4 กม.
3. จากเส้นทางตัดใหม่สายอำเภอวิเศษชัยชาญ-โพธิ์ทอง           (ถนนเลียบคลองชลประทาน) เมื่อถึงอำเภอโพธิ์ทองมีทางแยกเข้าวัดอีก 2 กม.